มัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)


ผู้สอน
ครู ณัฐศักดิ์ สมพงษ์
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 4 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
มัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์)

รหัสวิชา
44268

สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านขนุน(วันธรรมศาสตร์ศรีสะเกษ 2515)

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน ๕ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ รหัสวิชา ศ๒๓๑๐๑ เวลา ๔๐ ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑ หน่วยกิต
ใช้ความรู้เรื่อง ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ อธิบาย บรรยายถึงสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ ระบุเทคนิค และ วิธีการของศิลปิน ในการสร้างสรรค์งาน วิเคราะห์และบรรยายวิธีการใช้ ทัศนธาตุ ใช้หลักการออกแบบ เพื่อสร้างงานทัศนศิลป์ของตนเอง ด้วยเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ศึกษา ระบุ แยกแยะ งานทัศนศิลป์ไทย และสากล ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม วิเคราะห์ หลักการออกแบบเพื่อใช้สร้างงานสื่อผสม งานทัศนศิลป์ แบบ 2 มิติ และ 3 มิติ สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์อย่างน้อย 3 ประเภท งาน วาด, ระบายสี, แกะ ,หล่อ, ปั้น, พิมพ์, สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ทั้ง 2 มิติและ3 มิติ ถ่ายทอดตามจินตนาการ ประสบการณ์ หรือ จากสภาพสังคม และ ความเป็นอยู่ในท้องถิ่น โดยสื่อความหมายให้เป็นเรื่องราว โดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ ศึกษา อภิปราย งานทัศนศิลป์ ที่แสดงออกถึงการเห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรม ท้องถิ่น ศึกษา เปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรีและงานศิลปะอื่น ความมีเอกภาพ ความสมดุล ความขัดแย้ง กลมกลืน จังหวะ และสัดส่วน บรรยาย วิวัฒนาการของ ดนตรีแต่ละยุคสมัย เรื่อง ประวัติดนตรีไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ประวัติดนตรีตะวันตกยุคต่าง ๆ ร้องเพลง เล่นดนตรีเดี่ยว และรวมวง โดยเน้นเทคนิคการร้อง การเล่น การแสดงออก และคุณภาพเสียง แต่งเพลง สั้นๆ จังหวะง่ายๆ อัตราจังหวะ ๒ และ ๔ ๔ ๔ การประพันธ์เพลงในอัตราจังหวะ ๒ และ ๔ ๔ ๔

ศึกษา ระบุ โครงสร้างของ บทละคร องค์ประกอบของบทละคร โครงเรื่อง ลักษณะตัวละคร ความคิดหรือแก่นของเรื่อง บทละคร บทสนทนา โดยใช้ศัพท์ทางการละครหรือ นาฏยศัพท์ ภาษาท่าหรือภาษาทาง นาฏศิลป์ คือ ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์ ภาษารำวงมาตรฐาน ใช้ นาฏยศัพท์ หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม บรรยายเปรียบเทียบการ แสดงอากัปกิริยา ของผู้คนในชีวิต ประจำวันและ ในการแสดง

มีทักษะในการใช้ความคิดในการพัฒนารูปแบบการแสดง การแสดงเป็นหมู่ การแสดงเดี่ยว การแสดงละคร การแสดงเป็นชุดเป็นตอน แสดงเรื่องราวที่สะท้อนความเป็นอยู่ในชีวิต และชุมชน

มีทักษะในการแปลความและการสื่อสารผ่านการแสดง ประดิษฐ์ท่ารำ และท่าทางประกอบการแสดง ออกแบบ และสร้างสรรค์อุปกรณ์ และเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงนาฏศิลป์และการละครที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ( ศ ๓.๒ ม๓/๑)

ตัวชี้วัด
ศ ๑.๑ (ม ๓/๑), (ม ๓/๒) (ม ๓/๓) (ม ๓/๔), (ม ๓/๕) (ม ๓/๖) (ม ๓/๗) ศ ๑.๒ (ม ๓/๑) ศ ๒.๑ (ม ๓/๑), (ม ๓/๒) , (ม ๓/๓) ศ ๒.๒ (ม ๓/๑) ศ ๓.๑ (ม ๓/๑), (ม ๓/๒) , (ม ๓/๓) (ม ๓/๔), ศ ๓.๒ (ม ๓/๑)


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books