ส23101 สังคมศึกษา 5 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5)


ผู้สอน
นาย สิทธิโชค สารพงศ์
เข้าสู่ระบบเมื่อ เกือบ 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ส23101 สังคมศึกษา 5 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5)

รหัสวิชา
48429

สถานศึกษา
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)

คำอธิบายวิชา

รหัสวิชา ส23101 รายวิชา สังคมศึกษา 5

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เวลา 60 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1.5 หน่วยกิต

อธิบาย วิเคราะห์ อภิปราย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยสร้างสรรค์อารยธรรมและความสงบสุขแก่โลกที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พุทธประวัติจาก พระพุทธรูปปางต่าง ๆ ประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก เรื่องเล่า ศาสนิกชนตัวอย่าง สังฆคุณ และข้อธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ปฏิบัติตนตามหลักธรรมในการพัฒนาตนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานและการมีครอบครัว เห็น คุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ สวดมนต์แปลแผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญ ปัญญาด้วยอานาปานสติ ตามหลักแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ หน้าที่และบทบาทของสาวก ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อสาวก ต่อ บุคคลและการเป็นศาสนิกชนที่ดี ปฏิบัติตนใน ศาสนพิธี พิธีกรรม การแสดงตนเป็นพุทธมามกะประวัติวันสำคัญทางศาสนา และเสนอ แนวทางในการธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถือ

ศึกษาความหมายและความสำคัญของกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบ เศรษฐกิจ นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและประเทศชาติ บทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงานและแนวทางการแก้ปัญหา สาเหตุและวิธีการกีดกัน ทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการฝึกปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม กระบวนการกลุ่ม ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ

เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดี พัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เข้าใจและสามารถ บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการ ของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

รหัสตัวชี้วัด

ส 1.1 ม.3/1 , ม.3/2 , ม.3/3 , ม.3/4, ม.3/5 , ม.3/6 , ม.3/7 , ม.3/8 , ม.3/9 , ม. 3/10

ส 1.2 ม.3/1 , ม.3/2 , ม.3/3 , ม.3/4, ม.3/5 , ม.3/6 , ม.3/7

ส 3.1 ม.3/1 , ม.3/2 , ม.3/3

ส 3.2 ม.3/1 , ม.3/2 , ม.3/3 , ม.3/4 , ม.3/5 , ม.3/6

รวม 26 ตัวชี้วัด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books