สังคมศึกษา (สาระพระพุทธศาสนา) ม.4


ผู้สอน
นาย วุฒิพงษ์ ยมพ้วย
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
สังคมศึกษา (สาระพระพุทธศาสนา) ม.4

รหัสวิชา
54603

รหัสวิชาของสถานศึกษา
ส31106

สถานศึกษา
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน

คำอธิบายวิชา

ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้

               พระพุทธ เกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาฝึกคนไม่ให้ประมาท พระพุทธศาสนามุ่งประโยชน์สุขและสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก พระพุทธศาสนากับเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาแบบยั่งยืน พุทธประวัติ สรุปและวิเคราะห์พุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด ชาดก เรื่องมหาชนกชาดก วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรม อภิปรายผลที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรม คติธรรม อภิปรายผลที่เกี่ยวเนื่องในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพระพุทธศาสนา มุ่งอนุรักษ์ศาสนวัตถุ และศาสนสถานในท้องถิ่น

                พระธรรม เกี่ยวกับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง พระรัตนตรัย (วิเคราะห์ความหมายและคุณค่าของสังฆะ) อริยสัจ 4 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ 5 - จิต เจตสิก, สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) : ธรรมนิยาม-ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ 5 อุปทาน 4, นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) : นิพพาน, มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) : อธิปไตย 3 สาราณียธรรม 6 ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9 มงคล 38 ในเรื่อง ความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ บรรลุนิพพาน พุทธศาสนสุภาษิต คือ ราชา มุขํ มนุสฺสานํ (พระราชาเป็นประมุขของประชาชน) สติ โลกสฺมิ ชาคโร (สติเป็นเครื่องตื่นในโลก) นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี) นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) พระไตรปิฎก วิธีการศึกษาและค้นคว้าพระไตรปิฎก เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก มหาสาโรปมสูตร ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา คือ ฌานสมาบัติ-ผลสมาบัติ-นิโรธสมาบัติ สัมมัตตะ-มิจฉัตตะ การบริหารจิตและเจริญปัญญา สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน นำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตและสังคม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการสรุปทั้ง 10 วิธี ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                 พระสงฆ์ เกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้แก่ พระอานนท์ พระปฎาจาราเถรี จูฬสุภัททา สุมนมาลาการ ชาวพุทธตัวอย่าง ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภทฺโท) พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) และอนาคาริก ธรรมปาละ หน้าที่ชาวพุทธ เรื่องวิเคราะห์หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะพระนักเทศน์ พระธรรมทูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของอุบาสก อุบาสิกาที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์เกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาของพุทธบริษัทในสังคมไทย การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวตามหลักทิศเบื้องหลังในทิศ 6 การเข้าค่ายพุทธบุตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ เรื่องการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและโลก การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุทางกาย วาจา และใจ ศาสนพิธี เรื่อง บุญพิธี ทานพิธี กุศลพิธี วิเคราะห์คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธี สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา เรื่อง พระพุทธศาสนากับการพัฒนาแบบยั่งยืน

                 เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย และรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ประพฤติปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books