931-221 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล


ผู้สอน
นาย ศักดา สถาพรวจนา
เข้าสู่ระบบเมื่อ 5 เดือน ที่แล้ว

ชื่อวิชา
931-221 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล

รหัสวิชา
61259

รหัสวิชาของสถานศึกษา
931-221

สถานศึกษา
วิทยาลัยราชพฤกษ์

คำอธิบายวิชา

มคอ 3 รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะ/วิทยาเขต/ภาควิชา คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

       หมวดที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

1.รหัสและรายชื่อวิชา 931-221 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษาในยุคดิจิทัล (Professional Development of Educational Administrators in the Digital Era) 2. จำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต 3 (3-0-6) 3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา หลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา เป็นหมวดวิชา หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ 4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน 4.1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

  1. อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 4.2. อาจารย์ผู้สอน
  2. อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา
  3. รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
  4. อาจารย์ ดร.สมนึก ทองเอี่ยม
  1. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ชั้นปีที่ 1 รุ่น 10.1/10.2
  2. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) ไม่มี
  3. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) ไม่มี
  4. สถานที่เรียน มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะศิลปศาสตร์ อาคารดร. กมล ชูทรัพย์
  5. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด วันที่ 16 เมษายน 2564

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

  1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา เมื่อนิสิตเรียนจบรายวิชานี้แล้ว นักศึกษาสามารถ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ปรัชญา ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา จิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ การจัดการความรู้ของสถานศึกษาและและองค์กรทางการศึกษา การเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และวิจัยทางการบริหารการศึกษา 1.2 นักศึกษาสามารถกำหนดปรัชญาการจัดการศึกษา วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาหรืองค์กรทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับโลกในยุคศตวรรษที่ 21และบริหารจัดการจนบรรลุผลสำเร็จตามปรัชญาและวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ 1.3 นักศึกษาพัฒนาสถานศึกษา องค์กรทางการศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาระบบการจัดการความรู้ได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการเรียนรู้ของสถานศึกษา องค์กรทางการศึกษาอย่างยั่งยืน 1.4 นักศึกษาวิเคราะห์สมรรถนะ ศักยภาพ บทบาทหน้าที่ และสามารถพัฒนาตนเองให้ถึงพร้อมกับการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษามืออาชีพได้อย่างเหมาะสมสัมพันธ์สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และโลกในยุคศตวรรษที่ 21 1.5 นักศึกษาเป็นนักวิจัยทางการบริหารการศึกษาที่มีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพทางการบริหารการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน 1.6 นักศึกษาเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่า รักและศรัทธาในวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับการเป็นของการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาที่ดีมีประสิทธิภาพ 2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา 2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีทักษะ สมรรถนะ และวิธีการบริหารอย่างเหมาะสมกับการเป็นผู้บริหารผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลหรือในศตวรรษที่ 21 2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา 2.3 มีการปรับปรุงลำดับของเนื้อหาวิชา เช่น ปรับเนื้อหา องค์กรและการพัฒนาองค์กร มาอยู่หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 และปรับเนื้อหา ความรู้พื้นฐานทางการบริหารการศึกษาไปเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 และเพิ่มเนื้อหาของผู้บริหาร กับผู้นำ ออกมาเป็นเนื้อหาอีก 1 เนื้อหา เพื่อให้นิสิตสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 2.4 ปรับปรุงหลอมรวมเนื้อหา หน่วยการเรียนรู้ผู้บริหารมืออาชีพ และ มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารเข้าด้วยกัน แล้วตั้งชื่อเป็น หน่วยการเรียนรู้ ผู้บริหารมืออาชีพและมาตรฐานวิชาชีพทางการบริหารการศึกษาเพราะเป็นเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องและต่อเนื่องกัน 2.5 ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เข้าไปให้มีความสมบูรณ์ของหน่วยการเรียนรู้มากขึ้น 2.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 จากเดิมคือ วิจัยทางการบริหารการศึกษา ปรับเพิ่มเป็น วิจัยทางการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาวิชาชีพบริหารการศึกษา

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

  1. คำอธิบายรายวิชา ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา จิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา ความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ และการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาวิชาชีพบริหารการศึกษา Philosophy, Concept, and theories of educational administration; the soul and ideals of educational administrators; Knowledge management for educational administration; professional educational administratorship; change management process in the digital Era; educational Law, professional standards of educational administrators in Thailand ;foreign countries and research for professional development of educational Administration.
  2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ การศึกษาด้วยตนเอง 48 ตามความต้องการ ของนักศึกษาเฉพาะราย - 96
  3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา
(ระบุรายละเอียด) ตารางแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)ในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ความรับผิดชอบหลัก  ความรับผิดชอบรอง

  1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการบริหาร 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 931-221 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษาในยุคดิจิทัล                       

  2. คุณธรรม จริยธรรม 1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 1) เป็นนักบริหารที่มีความรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา 2) มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจิต มีวินัย เสียสละ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 3) ใช้การวินิจฉัยทางด้านคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการข้อโต้แย้งและประเด็นปัญหาต่างๆได้ 4) ควบคุมตนเองได้ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม แยกแยะความดีและความชั่วได้ 5) เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่นทั้งในการดำรงตนและการปฏิบัติงาน 1.2 วิธีการสอน

  1. การสอนแบบการแก้ปัญหา โดยหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรม คุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาที่กำลังเป็นข่าวของสังคม มาเป็นประเด็นการอภิปราย แล้วให้นักศึกษาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหานั้น 2) การสอนแบบกรณีศึกษา ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เรามักพบในสังคมหรือในสถาบันการศึกษาทั้งดีและไม่ดีขึ้นมาสนทนา อภิปรายหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อหามติร่วมเพื่อการนำผลที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาและผู้เรียนอย่างสูงสุด 3) การอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์และเพื่อนนักศึกษา 1.3 วิธีการประเมินผล 1) ประเมินผลจากพฤติกรรมของนักศึกษาด้วยการสังเกต หรือการประเมินตามสภาพจริง ด้วยแบบสังเกตหรือแบบประเมินพฤติกรรม ในพฤติกรรม ดังนี้ มีวินัย ต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ความเสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต สัมมาคารวะให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส และเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย 2) ประเมินผลจากการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากย์ หรือการอภิปรายร่วม ในประเด็น หรือปัญหา หรือกรณีศึกษา
  1. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ  1) มีองค์ความรู้ในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ครอบคลุมความรู้ในด้านต่างๆ ดังนี้ ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา จิตวิญญาณ อุดมการณ์ของผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้ ความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารทางการศึกษา และวิจัยเพื่อการพัฒนาวิชาชีพบริหารการศึกษา 2) มีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษาทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอื่นๆ โดยเป็นผู้บริหารมืออาชีพที่มีภาวะความเป็นผู้นำในโลกยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และคุณภาพของสถานศึกษา 3) มีความรู้ ความสามารถในด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 2.2 วิธีการสอน
  1. การสอนแบบบรรยาย (Lecture Method) เป็นการให้ความรู้กับนักศึกษาเพื่อนำไปสู่การ สร้างความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนเป็นของตนเอง 2) การศึกษาด้วยตนเอง (Self – Study) เป็นการสอนที่ให้นักศึกษาได้เป็นผู้ที่ค้นคว้าหาความรู้ จากหนังสือ ตำรา และทางอินเตอร์เน็ตและสรุปเป็นความคิดรวบยอดของตนเอง 3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนักศึกษาด้วยกัน เพื่อเติมเต็มให้เป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ 4) การสอนแบบวิพากย์ (Dialectical Method) โดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่นำมาศึกษา ทำการวิพากย์เชิงวิชาการร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในความรู้ที่ต้องการศึกษา และทำให้เกิดมุมมองต่อประเด็นที่ศึกษาต่างกันอันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ 5) การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) โดยให้นักศึกษาแสดงให้เห็นกระบวนการคิด วิธีการแก้ปัญหาในปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษาหรือองค์การทางการศึกษาที่ตนปฏิบัติงาน หรือจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ทั้งด้วยตนเองและหรือกระบวนการกลุ่มด้วยการระดมสมองในการแก้ไขปัญญานั้น 2.3 วิธีการประเมินผล
  2. การทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบ และการตั้งประเด็นปัญหา
  3. การทดสอบระหว่างเรียน ด้วยการให้นักศึกษาการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน วิพากย์ รายงานการศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอผลงาน เป็นต้น
  4. การสอบหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบประเภทอัตนัย
  1. ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 1) มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด และการวิเคราะห์เชิงวิพากย์ในเรื่องการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษา 2) มีความสามารถในการใช้ดุลยพินิจ ที่มีการประมวลความคิดรวบยอด และการแปลความหมายเพื่อประโยชน์ในการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษา 3) มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าวิจัยประเด็นของการบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารการศึกษา 3.2 วิธีการสอน
  1. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) โดยให้นักศึกษา แสดงให้เห็นกระบวนการคิด วิธีการแก้ปัญหาในปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสถานศึกษาหรือองค์การทางการศึกษาที่ตนปฏิบัติงาน หรือจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ทั้งด้วยตนเองและหรือกระบวนการกลุ่มด้วยการระดมสมองในการแก้ไขปัญญานั้น 2) การสอนแบบวิพากย์ (Dialectical Method) โดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่นำมาศึกษา ทำการวิพากย์เชิงวิชาการร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในความรู้ที่ต้องการศึกษา และทำให้เกิดมุมมองต่อประเด็นที่ศึกษาต่างกันอันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ 3.3 วิธีการประเมินผล
  2. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น กระบวนการคิด วิธีการแก้ไขปัญหาด้วย ตนเองและกลุ่ม
  3. ประเมินการจัดทำรายงาน และการนำเสนอผลงาน 3) ประเมินจากการวิพากย์
  1. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา 1) มีความไวในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้ร่วมงานและผู้เรียน ด้วยมุมมองเชิง บวก มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สังคม 2) มีความใส่ใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้เรียนและผู้ร่วมงานอย่างสร้างสรรค์ 3) สามารถทำงานเป็นทีม มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์เฉพาะหน้า 4) สามารถปรับตัวในสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย 5) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพและพัฒนาสังคม 4.2 วิธีการสอน 1) การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม (Team Learning) โดยการออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน แบ่งหัวข้อศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด แล้วนำมาสรุปเป็นข้อความรู้ร่วมกัน 2) การเรียนรู้นอกสถานที่หรือแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือจัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก 4.3 วิธีการประเมินผล
  1. ประเมินการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และการทำงานกลุ่ม
  2. ประเมินผลความรับผิดชอบในการทำงาน การเรียนรู้ การศึกษานอกสถานที่หรือ แหล่งเรียนรู้
  1. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา 1) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาและการทำวิจัยได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถแปลความหมายข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ 3) สามารถอ่านงานวิจัยและวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม สามารถแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการสื่อสารทั้งกับบุคคลและกลุ่มคนในสถานการณ์ที่หลากหลาย 4) มีทักษะในการใช้ภาษาสำหรับการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูด การฟังและการเขียน 5) รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเดสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 5.2 วิธีการสอน
  1. การศึกษาด้วยตนเอง (Self – Study) เป็นการสอนที่ให้นักศึกษาได้เป็นผู้ที่ค้นคว้า หาความรู้ จากหนังสือ ตำรา และทางอินเตอรเน็ทและสรุปเป็นความคิดรวบยอดของตนเอง 2) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนักศึกษาด้วยกัน เพื่อเติมเต็มให้เป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ 3) การสอนแบบวิพากย์ (Dialectical Method) โดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่นำมาศึกษา ทำการวิพากย์เชิงวิชาการร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในความรู้ที่ต้องการศึกษา และทำให้เกิดมุมมองต่อประเด็นที่ศึกษาต่างกันอันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ 5.3 วิธีการประเมินผล
  2. ประเมินจากรายงาน 2) ประเมินโดยการซักถาม
  3. ประเมินผลจากการอภิปรายในชั้นเรียน 4) ประเมินจากการนำเสนอผลงานหรือรายงาน 6.ด้านทักษะการบริหาร 6.1 ทักษะด้านการบริหารที่ต้องพัฒนา 1) มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารที่มีมาตรฐานระดับชาติ 2) มีทักษะในการบริหารจัดการนวัตกรรมการบริหารการศึกษา   6.2 วิธีการสอน
  4. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) โดยให้นักศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ แล้วนำมาวิเคราะห์คุณลักษณะของตนเองที่ไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำไปเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำนั้นเพิ่มเติม และนำไปสู่การแสดงภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและหรือผู้นำทางการศึกษาในสถานการณ์ต่างๆ 2) สอนโดยใช้กรณีศึกษา (Case study) โดยให้นักศึกษาศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษา ที่เป็นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) รวมทั้งศึกษารูปแบบ วิธีการบริหารที่ดี แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น นวัตกรรมทางการบริหาร: รูปแบบวิธีการบริหาร รูปแบบใหม่เพื่อใช้ในการบริหารสถานศึกษาหรือองค์กรทางการศึกษาที่ตนรับผิดชอบอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3) การเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม (Team Learning) โดยการออกแบบการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน แบ่งหัวข้อศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด แล้วนำมาสรุปเป็นข้อความรู้ร่วมกัน 4) การเรียนรู้นอกสถานที่โดยให้นักศึกษาได้เข้าศึกษาในสถานศึกษาหรือองค์กรทางการศึกษาที่ตนเองสนใจเพื่อศึกษาการบริหารองค์กร รูปแบบการบริหาร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร เพื่อนำมาปรับ ประยุกต์ใช้ในบริหารหรือกากกรทำงานต่อไป 5) การสอนแบบวิพากย์ (Dialectical Method) โดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่นำมาศึกษา ทำการวิพากย์เชิงวิชาการร่วมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในความรู้ที่ต้องการศึกษา และทำให้เกิดมุมมองต่อประเด็นที่ศึกษาต่างกันอันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ 6.3 วิธีการประเมินผล
  5. ประเมินการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และการทำงานกลุ่ม
  6. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น กระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ จาก เนื้อหาความรู้ที่ได้ศึกษา เช่น ภาวะผู้นำ นวัตกรรมทางการบริหาร เป็นต้น
  7. ประเมินจากการวิพากย์ ภาวะผู้นำ นวัตกรรมทางการบริหารด้วยหลักทางวิชาการ 4) ประเมินการจัดทำรายงาน และการนำเสนอผลงาน 5) ประเมินผลการออกแบบนวัตกรรมทางการบริหาร :รูปแบบการบริหาร

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

  1. แผนการสอน สัปดาห์ที่ หัวข้อ/รายละเอียด จำนวน ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้/ ผลลัพธ์ ผู้สอน 1-3 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 องค์กรและการพัฒนาองค์กร 1.1 ความหมาย 1.2 องค์ประกอบขององค์กร 1.3 ประเภทขององค์กร 1.4 วัตถุประสงค์ขอองค์กร 1.5 การพัฒนาองค์กร 9 1. แนะนำรายวิชา แนะนำ ผู้สอน และ ผู้เรียนแนะนำ ตัวเอง 2.แนะนำกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย การบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากย์ การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การเรียนรู้เป็นทีม และกรณีศึกษา เป็นต้น
  2. การวัดและประเมิน โดยการวัดผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและ หลังเรียน
  3. แนะนำหนังสืออ่านประกอบและแหล่ง ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
  4. อธิบายความหมายขององค์กร การพัฒนาองค์กร 6.ให้นักศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบขององค์กร และสรุปพร้อมนำเสนอ 7.ให้นักศึกษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามประเภทขององค์กรแล้วศึกษาในประเด็น ต่อไปนี้ 1) วัตถุประสงค์ขององค์กร 2) ผลการดำเนินงานขององค์กร 3) ปัญหาที่พบในองค์กร 4) แนวทางการพัฒนาองค์กร แล้วสรุปเป็นข้อความรู้ พร้อมทั้งนำเสนอ เพื่อให้เพื่อได้วิพากย์ร่วมกัน สื่อการเรียนรู้ 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point
  5. เอกสาร หนังสือ ตำราเรียน4. กรณีศึกษา 5. E-Learning ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ข้อสรุปความรู้
  6. ผลการวิเคราะห์การดำเนินงานและสภาพปัญหา 3.แนวทางการพัฒนาองค์กรตามประเด็นปัญหาที่พบ 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

4-5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้พื้นฐานบริหารการศึกษา 2.1 ความหมายของบริหารและบริหารการศึกษา 2.2 วิวัฒนาการของบริหาร 2.3 ผู้บริหาร กับผู้นำ 2.4 หลักการทางการบริหาร 2.5 กระบวนการบริหาร / หน้าที่บริหาร 2.6 ระดับของผู้บริหาร 2.7 ทักษะทางการบริหาร 2.8 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารกับระดับการบริหาร 2.9 ทรัพยากรทางการบริหาร 2.10 อำนาจหน้าที่ 6 1. อธิบายเกี่ยวกับความหมายของการบริหาร บริหารการศึกษา 2.ให้นักศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบคำ ผู้นำกับผู้บริหาร สรุปเป็นข้อความรู้ พร้อมวิพากย์ร่วมกัน 2.ให้นักศึกษา เรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ วิวัฒนาการทางการบริหาร และหลักการบริหารที่ได้รับจากแต่ละยุคของการบริหาร แล้วสรุปเป็นข้อความรู้พร้อมนำเสนอ 3.แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อศึกษาวิเคราะห์ เกี่ยวกับหลักการบริหาร หน้าที่บริหาร ทรัพยากรทางการบริหารและอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารที่ผู้บริหารดำเนินการในองค์กรของตนเอง แล้วสรุปเป็นข้อความรู้ พร้อมทั้งนำเสนอโดยผู้สอนเสริมข้อความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ 4.ให้นักศึกษา ศึกษา วิเคราะห์สรุปและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการบริหารกับระดับของผู้บริหาร สื่อการเรียนรู้ 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point 3. เอกสาร หนังสือ ตำราเรียน4. สื่อ วิดีทัศน์ 5. กรณีศึกษา 6. E-Learning ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ข้อสรุปความรู้ เนื้อหา 2.1-2.9 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

6-9 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ผู้บริหารมืออาชีพและมาตรฐานวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา 3.1 มาตรฐานวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา 3.1.1 ความหมายของมาตรฐาน 3.1.2 มาตรฐานวิชาชีพ 3.1.3 มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา 3.1.4 มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 3.2 ผู้บริหารมืออาชีพ 3.2.1 ความหมาย 3.2.2 คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ 3.2.3 จิตวิญญาณของผู้บริหาร 12 1.ให้นักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ความหมาย และวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างมาตรฐานและมาตรฐานวิชาชีพ แล้วสรุปเป็นข้อความรู้พร้อมนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อศึกษามาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา พร้อมทั้งนำเสนอพร้อมวิพากย์ร่วมกัน 3.ให้นักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ ความหมาย และวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างผู้บริหารและผู้บริหารมืออาชีพ สรุปเป็นข้อความรู้พร้อมนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 4.ให้นักศึกษา ศึกษากรณีศึกษา ผู้บริหารมืออาชีพตามการรับรู้ของตนเอง คนละ 1 ราย โดยศึกษาในประเด็นต่อไปนี้ 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ (คุณลักษณะ บทบาท พฤติกรรม) 2)จิตวิญญาณของผู้บริหารมืออาชีพ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ พร้อมนำเสนอเพื่อให้กลุ่มเพื่อนวิพากย์ในประเด็นที่กำหนดร่วมกัน สื่อการเรียนรู้ 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point 3. เอกสาร หนังสือ ตำราเรียน 4. E-Learning ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ข้อสรุปความรู้ และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ 2.ผลจากการศึกษามาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ได้จากการวิพากย์ร่วมกัน 3.ผลจากการศึกษากรณีศึกษาตามประเด็นที่กำหนด 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

10-11 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล 4.1 การบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4.2 โลกยุคดิจิทัล 4.3 ทักษะของผู้เรียน ครู และผู้บริหารในศตวรรษที่21 4.4 การจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหาร 4.5 การจัดการความรู้และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization and Learning S0ciety) 6 1.แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม ให้นักศึกษาวิเคราะห์สถานศึกษาด้วยการวิเคราะห์ SWOTตามหลักวิชาการ (มีกรอบการวิเคราะห์)
2.ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกแบบสถานศึกษา หรือหน่วยงานทางการศึกษาในโลกยุคดิจิทัล ในประเด็น

  1. โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างงาน
  2. วิธีการบริหารองค์กร
  3. ระบบงานหรืออำนาจหน้าที่
  4. ระบบการจัดการสารสนเทศ 5)ทักษะของผู้บริหาร ครูและนักเรียนในยุคดิจิทัล
  5. สถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  6. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3.นำเสนอผลการศึกษา และร่วมกันวิพากย์ข้อความรู้ สื่อการเรียนรู้ 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point
  1. เอกสาร หนังสือ ตำราเรียน 4. E-Learning ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ข้อสรุปความรู้ 2.ผลการวิเคราะห์สถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาด้วย SWOT Analysis
  2. ผลการศึกษาการออกแบบสถานศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษา 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

12-13 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 กฎหมายการศึกษา 5.1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ 5.2 พระราชบัญญัติการศึกษา 5.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6 1. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็น ต่อไปนี้ 1.1 กฎหมายรัฐธรรมนูญ 1.2 พระราชบัญญัติการศึกษา 1.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.ให้นักศึกษาระดมความคิดเห็นต่อประเด็นที่ศึกษา 3. สรุปเป็นข้อความรู้/รายงาน ที่ได้รับเพื่อนำไปสู่การนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป สื่อการสอน 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point 3. เอกสาร หนังสือ ตำราเรียนเกี่ยวกับกฎหมาย 4. E-Learning สังเคราะห์และวิพากย์ ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ข้อความรู้ที่ได้จากการศึกษา 2.รายงานเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

14-16 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 วิจัยทางการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาวิชาชีพบริหารการศึกษา

6.1 ผลการวิจัยทางการศึกษา
6.2 ผลการวิจัยทางการบริหารการศึกษา

6.3 การนำผลการวิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา 9 1.ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับ งานวิจัยทางการศึกษาและทางการบริหารการศึกษาที่ตนเองสนใจ มาคนละ 3 เล่ม ตามประเด็นที่กำหนด

  1. หัวข้อวิจัยทางการบริหาร
  2. ปัญหาการวิจัย
  3. วัตถุประสงค์การวิจัย
  4. กรอบการวิจัย
  5. วิธีดำเนินการวิจัย
  6. กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่ม 7) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 8) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
  7. ผลการวิจัย โดยให้สรุปตามประเด็นที่กำหนด เรื่องละ 2 หน้ากระดาษ 2.ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของสถานศึกษาที่เกิดขึ้นและต้องการแก้ไขปัญหานั้น 3.ให้นักศึกษานำเสนอผลการวิจัยและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการศึกษาและทางการบริหารการศึกษา สื่อการสอน 1.เอกสารประกอบการสอน 2.Power Point
  1. งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา
  2. E-Learning ผลลัพธ์จากการเรียนรู้ 1.ความรู้ตามเนื้อหา 2.ผลการศึกษางานวิจัยตามประเด็นที่กำหนด 3.รายงานสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาหรือบริหารการศึกษา
  3. กรอบแนวคิดการวิจัยที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา 5.โครงร่างวิจัย (Proposal) 1.อ.ดร.ศักดา สถาพรวจนา 2.รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

รวมชั่วโมงที่สอน 48 สอบปลายภาค แบบทดสอบประเภทอัตนัย

2.แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู วิธีการประเมิน สัปดาห์ ที่ประเมิน สัดสวนการประเมินผล

  1. คุณธรรม จริยธรรม (1.1 /1.2 / 1.3) การประเมินตามสภาพจริง ตลอดภาคเรียน 20% 4.ทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
    (4.3 /4.5) การประเมินตามสภาพจริง
  2. ความรู้ (2.1/2.2)
    1. การแสดงความคิดเห็น การวิพากย์ต่อประเด็นที่ศึกษา
    2. สอบกลางภาค
    3. สอบปลายภาค การประเมินตามสภาพจริง การทดสอบ 17 30% 30%
  3. ทักษะทางปัญญา (3.1/3.3) การประเมินตามสภาพจริง 2-16
  4. ทักษะการ วิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี (5.1/5,4) การประเมินตามสภาพจริง 2-16 20%
  5. ทักษะทางการบริหาร (6.1) 2-16

การประเมินผลให้ระดับคะแนนเป็นอักษรคือเกรดและความหมายดังนี้

      คะแนน	                    เกรด	             ความหมาย
        80 - 100	                   A	       ดีเยี่ยม (Excellent)
       75  - 79	                   B+	       ดีมาก (Very Good)
       70  - 74	                   B	       ดี (Good)
       65  - 69	                   C+	       ดีพอใช้ ( Fairly Good)
       60  - 64	                   C	       พอใช้ (Fair)
       55  - 59	                   D+	       อ่อน ( Poor)
       50  - 54	                   D	       อ่อนมาก (Very Poor)
       ต่ำกว่า 50	                   F	       ตก ( Fail)

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

  1. เอกสารและตำราหลัก ภารดี อนันต์นาวี. (2552).หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา ชลบุรี: มนตรี. นพพงษ์ บุญจิตราดุล.(2557). หลักการ และทฤษฎีการบริหารการศึกษา.นนทบุรี:ตรีรณสาร. Lunenburg, Fred C. And Ornstein Allan C. (2012). Educational Administration: Concept and Practice . 6th Edition. Belmont, CA : Wadsworth Cengage Learning Asia Pte Ltd. Daft (2008) New Era of Management. Cengage Learning Asia Pte Ltd.

  2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีระ รุญเจริญ.(2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการศึกษาและบริหารการศึกษายุคปฏิรูป
    การศึกษา.พิมพค์รั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท. พระพรหมคุณาภรณ์ (2556). ปรัชญาการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์. ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2552). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพ ฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สนานจิตร สุคนธทรัพย์. (2544). แนวคิดและรูปแบบการบริหารจัดการของสถานศึกษาโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน: ประสบการณ์สู่ทฤษฎีใน รายงานการประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ: การปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี. อุทัย บุญประเสริฐ. (2547). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอส.ดี.เพรส. Daft, R. L. (1999). Leadership: Theory and Practice. Orlando, Fl : The Dryden. Griffin.(2019).Fundamentals of Management,9thEdition. Cengage Learning Asia Pte Ltd. Peter F Drucker.(1994)”The Thoery of Bussiness” Harvard Bussiness Review September- October.pp95-104.Robert E. Owens, (2015). Behavior in Education: Leadership and School Reform, 11th Edition Boston : Allyn and Bacon. 3.เอกสารและข้อเสนอแนะ สุรพล นิติไกรพจน์. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษากฎหมายเพื่อพัฒนา การศึกษาของชาติ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา 1.1 ประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินของมหาวิทยาลัยที่ประเมินอาจารย์ผู้สอนในทุกภาคการศึกษา 1.2 ประเมินผลการสอนอาจารย์ โดยให้นักศึกษาประเมินในสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่15 1.3 สังเกตการเรียนรู้ การประเมินผลงานของนักศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน รายงานระหว่างเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการประเมินหลังเรียน 1.4 การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาในเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัย

  1. กลยุทธ์การประเมินการสอน 1.) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และการวิพากย์ระหว่างเรียน 2.) การนำเสนอผลงาน รายงาน ผลการปฏิบัติงานตามที่สั่งให้ทำ 3) ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังสอบเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน วิธีการสอน เนื้อหา 4) การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยการพิจารณาผลงานของนักศึกษาเปรียบเทียบกับ มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ 5) การสังเกตการณ์สอนของสาขาวิชา โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการการประเมินหรือจากการสังเกตการสอน
  2. การปรับปรุงการสอน 1.) เพิ่มสื่อการเรียนการสอน วิดิทัศน์ กรณีศึกษา เน้นการสอนแบบวิพากย์
  1. ให้ทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และการบริหารงานและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
  2. ประชุมอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาเดียวกัน เพื่อวิพากย์การจัดการเรียนการสอน การปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการสอน
  3. สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  1. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
  1. ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น การวิพากย์ การตรวจผลงาน การทดสอบย่อยระหว่างบทเรียน การสอบกลางภาค
  2. ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา หลังเรียนโดยพิจารณาจากการตอบข้อสอบอัตนัย และผลการเรียน (เกรด) ที่นักศึกษาได้รับ
  3. ตั้งคณะกรรมการพิจารณา ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา รวมทั้งสอบทานเกณฑ์การให้คะแนนที่สามารถวัดได้อย่างเที่ยงตรง
  1. การดำเนินการทบทวน และการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
  1. การนำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาในการสอนครั้งต่อไป
  2. การทบทวน ปรับปรุง ลำดับเนื้อหาการสอน วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและมาตรฐานของข้อสอบ

ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books