วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทอม 2


ผู้สอน
นางสาว รุ่งนภา สายเปลี่ยน
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทอม 2

รหัสวิชา
65338

รหัสวิชาของสถานศึกษา
ว22102

สถานศึกษา
โรงเรียนอนุบาลศรีสวัสดิ์

คำอธิบายวิชา

ศึกษา วิเคราะห์ การพยากรณ์การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นผลของแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรง ที่กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกันจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การเขียนแผนภาพแสดงแรงและแรงลัพธ์ที่เกิดจากแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุในแนวเดียวกัน การออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว วิเคราะห์แรงพยุง และการจมการลอยของวัตถุในของเหลวจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุในของเหลว แรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ การออกแบบการทดลอง และทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อขนาดของแรงเสียดทาน การเขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทาน และแรงอื่น ๆ ที่กระทำต่อวัตถุ ประโยชน์ของความรู้เรื่องแรงเสียดทานโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและเสนอแนะวิธีการลดหรือเพิ่มแรงเสียดทานที่เป็นประโยชน์ต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การออกแบบการทดลองและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายโมเมนต์ของแรงเมื่อวัตถุอยู่ในสภาพสมดุลต่อการหมุน และคำนวณโดยใช้สมการ M = Fl การเปรียบเทียบแหล่งของสนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า และสนามโน้มถ่วง และทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในแต่ละสนามจากข้อมูลที่รวบรวมได้ การเขียนแผนภาพแสดงแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วง ที่กระทำต่อวัตถุ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงแม่เหล็ก แรงไฟฟ้า และแรงโน้มถ่วงที่กระทำ ต่อวัตถุที่อยู่ในสนามนั้น ๆ กับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุจากข้อมูลที่รวบรวมได้ การคำนวณอัตราเร็ว และความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้สมการ v = s/t และ v = s/ t จากหลักฐานเชิงประจักษ์ การเขียนแผนภาพแสดงการกระจัดและความเร็ว การวิเคราะห์สถานการณ์และคำนวณเกี่ยวกับงาน และกำลังที่เกิดจากแรงที่กระทำต่อวัตถุโดยใช้สมการ W = Fs และ P =w/p จากข้อมูลที่รวบรวมได้ การวิเคราะห์หลักการทำงานของเครื่องกลอย่างง่ายจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ประโยชน์ของความรู้ของเครื่องกลอย่างง่ายโดยบอกประโยชน์ และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การออกแบบและทดลองด้วยวิธีที่เหมาะสมในการอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อพลังงานจลน์และพลังงานศักย์โน้มถ่วง การแปลความหมายข้อมูลและอธิบายการเปลี่ยนพลังงานระหว่างพลังงานศักย์โน้มถ่วงและพลังงานจลน์ของวัตถุโดยพลังงานกลของวัตถุมีค่าคงตัวจากข้อมูลที่รวบรวมได้ การวิเคราะห์สถานการณ์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานโดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงาน อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติและการเปลี่ยน แปลงในชีวิต ประจำวันด้วยการใช้หลักเหตุผล และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ตัวอย่างชัดเจน แล้วตั้งสมมติฐานของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถระบุข้อดีและข้อจำกัดของวิธี การแก้ปัญหาได้ การเปรียบเทียบกระบวนการเกิด สมบัติ และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งอธิบายผลกระทบจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์จากข้อมูลที่รวบรวมได้ แสดงความตระหนักถึงผลจากการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์โดยนำเสนอแนวทางการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ การเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของพลังงานทดแทนแต่ละประเภทจากการรวบรวมข้อมูล แนวทางการใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมในท้องถิ่น การสร้างแบบจำลองที่อธิบายโครงสร้างภายในโลกตามองค์ประกอบทางเคมีจากข้อมูลที่รวบรวมได้ กระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อน และการสะสมตัวของตะกอนจากแบบจำลอง ผลของกระบวนการผุพังอยู่กับที่ การกร่อนที่ทำให้ผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของชั้นหน้าตัดดินและกระบวนการเกิดดินจากแบบจำลอง ปัจจัยที่ทำให้ดินมีลักษณะและสมบัติแตกต่างกัน การตรวจวัดสมบัติบางประการของดินโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและนำเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์ดินจากข้อมูลสมบัติของดิน ปัจจัย และกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำ ใต้ดินจากแบบจำลอง การสร้างแบบจำลองที่อธิบายการใช้น้ำ การใช้น้ำอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นของตนเอง การสร้างแบบจำลองที่อธิบายกระบวนการเกิด และผลกระทบของน้ำท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม หลุมยุบ แผ่นดินทรุด สามารถเชื่อมโยงเหตุและผลของปรากฏการณ์ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน คาดคะเน หาคำตอบและคิดวิธีการหาคำตอบ โดยอาจใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยในการสำรวจตรวจ สอบ เก็บข้อมูล สรุปคำตอบ และเขียนรายงานได้ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แล้วสามารถจำแนก จัดหมวดหมู่ จัดลำดับความสำคัญ และเปรียบเทียบข้อมูลจากข้อมูลข่าวสารนั้นได้ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้อธิบาย แก้ไขปัญหา สร้างสรรค์ พัฒนางานในชีวิตจริงโดยเชื่อมโยงกับความรู้ทางคณิตศาสตร์ และกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีความสามารถในการตัดสินใจสิ่งที่เรียนรู้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำข้อค้นพบที่ได้จากการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books