ส14203-การป้องกันการทุจริต ป.4 ปีการศึกษา 2564 ครู-นักเรียน


ผู้สอน
นาย อักษรินทร์ ชัยอัครพันธุ์
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 2 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ส14203-การป้องกันการทุจริต ป.4 ปีการศึกษา 2564 ครู-นักเรียน

รหัสวิชา
65366

สถานศึกษา
โรงเรียนอนุบาลศรีสวัสดิ์

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รหัสวิชา ส 14203 รายวิชาการป้องกันการทุจริต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ชั่วโมง

ศึกษาความแตกต่างระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของกิจกรรมนักเรียนที่ต้องแสดงออกถึงความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต ศึกษาบทบาทหน้าที่พลเมืองและการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม STRONG : จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต ตลอดจนตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ การฝึกปฏิบัติจริง การอภิปราย การสืบสอบ การแก้ปัญหา ทักษะการอ่านและการเขียนเพื่อให้มีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและการป้องกันการทุจริต

เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้ สามารถปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม แสดงเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ ผลการเรียนรู้

  1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
  2. สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้
  3. ตระหนักและเห็นความสำคัญในการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
  4. มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต
  5. ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
  6. ตระหนักและมีความละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบ
  7. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ STRONG : จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต
  8. ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG : จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต
  9. ตระหนักและเห็นความสำคัญของ STRONG และจิตพอเพียงในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
  10. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  11. ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  12. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเป็นพลเมืองที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันการทุจริต รวมทั้งหมด 12 ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ สมรรถนะที่ 5 ทักษะชีวิตและความเจริญแห่งตน (Life Skills and Personal Growth) สมรรถนะรองที่ 1 รู้จักตนเอง พึ่งตนเอง ตามความสามารถและความถนัด บอกแนวทางและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในชีวิตประจำวันได้ สมรรถนะรองที่ 4 ปฏิบัติความดีและถูกต้อง แยกแยะสิ่งที่ถูกผิด แสดงถึงจริยธรรม ทำสิ่งที่ดีถูกต้อง ปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของ สังคม มีสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่น รับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนที่มีต่อครอบครัวและสังคม สมรรถนะรองที่ 6 เรียนรู้ด้วยตนเอง รู้วิธีการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายด้วยทักษะการเรียนรู้และทักษะการสืบค้นข้อมูล

สมรรถนะที่ 7 ทักษะการคิดขั้นสูงและนวัตกรรม (Higher - Order Thinking Skills and Innovation) HOTS: Critical Thinking, Problem Solving, Creative Thinking) สมรรถนะรองที่ 1 ฟัง/อ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แล้วสามารถจำแนกข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ที่นำเสนอ ในข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องนั้นได้

สมรรถนะที่ 8 การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล(Media, Information and Digital Literacy : MIDL) สมรรถนะรองที่ 1 เลือกใช้เครื่องมือ และแหล่งสื่อสารสนเทศเพื่อการสืบค้น และเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ รวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมและมีประโยชน์ และเข้าใจความหมายของเนื้อหาสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับวัย สมรรถนะรองที่ 2 ใช้สื่อและจัดการเวลาในการใช้สื่ออย่างระมัดระวังโดยไม่ให้เกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น ออกแบบรูปแบบ โครงสร้าง และลำดับเหตุการณ์ของเนื้อหาสาระ ใช้แนวคิดต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในการทำความเข้าใจบริบทของเนื้อหาสารที่นำเสนอ สมรรถนะรองที่ 3 วิเคราะห์ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามสื่อ สารสนเทศ ประเมินจุดประสงค์ของการสื่อสาร กระบวนการสร้าง และบทบาทของสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล แบบต่างๆ อย่างเป็นผู้รู้เท่าทัน สมรรถนะรองที่ 4 เลือกสาระที่มีประโยชน์จากสื่อ สารสนเทศ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง และครอบครัว สมรรถนะรองที่ 5 รู้และเข้าใจสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรับผิดชอบและมีจริยธรรม และการใช้ชีวิต เลือกสรรข้อมูล และสร้างสื่อสารสนเทศในแบบต่าง ๆ แล้วสื่อสารโดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นต่อตนเองและผู้อื่น


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books