IN 412 Techniques for International Negotiation


ผู้สอน
อาจารย์ ดร. จอย ทองกล่อมสี
เข้าสู่ระบบเมื่อ มากกว่า 6 ปี ที่แล้ว

ชื่อวิชา
IN 412 Techniques for International Negotiation

รหัสวิชา
6821

สถานศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำอธิบายวิชา

Course Specification

1.

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความเป็นนานาชาติ ด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรมประเพณีและ ปัจจัยของกลไกของ โลกาภิวัฒน์ โดยศึกษาความรู้ตั้งแต่ระดับแนวคิด ศึกษาจากกรณีศึกษา ตลอดรวมถึงการพัฒนาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสม  และเชื่อมโยงมาสู่ การเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เพื่อจะหาแนวทางในการเจรจาต่อรอง ด้วยวิธีการต่างๆ  ให้เหมาะสม เพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ที่ต้องปฎิสัมพันธ์กับคนหลากภาษา หลากวัฒนธรรม  รายวิชานี้ได้มีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้การเรียนการสอนแบบร่วมมือการเรียนรู้ (Cooperative learning) และการเรียนรู้ที่ใช้กรณีศึกษา (case based learning) และนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และปัจจุบัน นำมาวิเคราะห์ เพื่อคาดเดา หรือทำนาย สถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ผู้เรียนจะได้ค้นคว้าศึกษาจากประเด็นและกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นทีม ตลอดรวมถึงการพัฒนาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมบูรณาการเข้าสู่ การประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน และบูรณาการสู่ การเข้าสู่การเตรียมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต

2.

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

2.1.เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิด และทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับหลักการความเป็นนานาชาติและโลกาภิวัตน์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎี เพื่อวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้

2.2.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในบริบทต่างๆ ของสังคมนานาชาติ

2.3.เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนใน ด้านการออกแบบการสื่อสารให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย  ในงาน การให้บริการ โดยเฉพาะ  Airline Business

2.4.เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ พื้นฐานการในการเจรจาต่อรอง ในทุกบริบท ของสังคม  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ ของการงานให้บริการ โดยเฉพาะ Airline Business

2.5. เพื่อให้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมสามารถ อธิบาย วิเคราะห์ สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้หลักการเจรจาต่อรอง ให้เกิดประสิทธิผล

2.6.เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ และบูรณาการ ใช้ในการเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต

ลักษณะและการดำเนินการ

1.

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดความเป็นนานาชาติและโลกาภิวัฒน์ สังคมนานาชาติเชิงเปรียบเทียบ นานาชาติกับการสื่อสาร การจัดการกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย การออกแบบการสื่อสารให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม ลักษณะประจำชาติ และเทคนิคการเจรจาต่อรอง  การเจรจาต่อรองเปรียบเทียบ

2.

จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

การบรรยาย  จำนวน  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การฝึกปฏิบัติงาน  จำนวน  -  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การศึกษาด้วยตนเอง  จำนวน  3  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.

จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยระบุวัน เวลา ไว้ในประมวลการสอน และแจ้งให้นักศึกษาทราบ และแจกเป็นเอกสารในชั่วโมงแรกของการสอน

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1.

คุณธรรม จริยธรรม

1.1คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

1.1.1.  สามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ด้วยการยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม ดีงาม

1.1.2.  มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน โดยแสดงออกซึ่งคุณสมบัติของผู้มีคุณธรรม จริยธรรม

1.1.3.  มีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีวินัย ตรงต่อเวลา เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับขององค์กรและสังคม

1.2วิธีการสอน

  1.2.1. บรรยายประกอบการสอดแทรกประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้องด้านคุณธรรม จริยธรรมในระหว่างการเรียนการสอน

  1.2.2. ศึกษาเรียนรู้ จากโครงการตัวอย่าง จากสื่อประเภทต่างๆ และนำมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน ด้วยการนำเสนอแบบไม่เป็นทางการ

  1.2.3. ให้นักศึกษา ร่วมกันคิด แสดงความคิดเห็น และปฏิบัติร่วมกันในชั้นเรียน

1.3.วิธีการประเมินผล

  1.3.1. ประเมินผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน

  1.3.2. ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา

2.

ความรู้

2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ

  2.1.1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง บริบทของความเป็นนานาชาติ 

  2.1.2. นักศึกษา สามารถบูรณาการความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

  2.1.3. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง และความเป็นนานาชาติ ในเชิงทฤษฎี และ เชิงปฏิบัติ

  2.1.4. นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง ในการดำเนินกิจกรรมประจำวันได้อย่างเหมาะสม

  2.1.5. นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต

2.2  วิธีการสอน

  2.2.1. บรรยายและทำแบบฝึกหัด

  2.2.2. สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  2.2.3. ให้นักศึกษา วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น กรณีศึกษา และกรณีตัวอย่าง

2.3 วิธีการประเมินผล

  2.3.1. ประเมินจากการค้นคว้าและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนด้วยการสังเกต

  2.3.2. ประเมินผลจากพฤติกรรม

  2.3.3. ประเมินผลจากคำตอบข้อสอบอัตนัย ที่เน้นถามข้อมูลในเชิงความคิดสร้างสรรค์ภายใต้หลักวิชาการ

3.

ทักษะทางปัญญา

3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

  3.1.1. สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีบูรณาการสู่การนำไปปฏิบัติได้ในหลากหลายรูปแบบ

  3.1.2. สามารถ พัฒนา ทักษะทางปัญญา ได้ด้วยความคิดในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

  3.1.3. เป็นผู้มีการแสดงออกทางความคิด ได้เหมาะสมกับ กับวาระและโอกาส

3.2 วิธีการสอน

  3.2.1. มอบหมายให้นักศึกษา ศึกษา กรณีศึกษาเกี่ยวความขัดแย้งในระดับบุคคล องค์กร และประเทศ

  3.2.2. มอบหมายให้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และเป็นคู่ เพื่อวิเคราะห์ กรณีศึกษา แสดงความคิดเห็นเชิงเปรียบเทียบ

3.3 วิธีการประเมินผล

  3.3.1. ประเมินผลจากกิจกรรมในชั้นเรียน

  3.3.2. ประเมินผลจากผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

  3.3.3. ประเมินจากพัฒนาการ ของการแสดงออกทางความคิดแสดงเหตุผล

4.

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

1.1ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

  4.1.1.สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนช่วยเหลือผู้ร่วมกลุ่มและแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้

  4.1.2. สามารถพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพ ให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจการบิน ได้อย่างหลากหลาย

4.2 วิธีการสอน

  4.2.1.มอบหมายงานเป็นกลุ่มให้ร่วมกันปฏิบัติในระหว่างการเรียนการสอน

  4.2.2. มอบหมายงาน ในการสืบค้นข้อมูล และ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน

  4.2.3. แนะนำให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวช้องกับความ เป็นนานาชาติ

4.3 วิธีการประเมินผล

  4.3.1.ประเมินจากผลการปฏิบัติงานเป็นกลุ่ม และเป็นคู่ ตามที่ได้รับมอบหมาย

  4.3.2. ประเมินจากการสังเกต พฤติกรรม การปฏิสัมพันธ์ ภายในกลุ่ม และ ระหว่างกลุ่ม ที่ได้รับมอบหมายการคิดวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน

5.

ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

  5.1.1. นักศึกษาสามารถใช้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สถิติ ในการ ประเมินสถานการณ์ คาดการณ์ ของเหตุการณ์จากอดีต จวบจนปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5.1.2. นักศึกษาสามารถใช้ทักษะการสื่อสาร ในรูปแบบต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  5.1.3. นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูลประกอบการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 วิธีการสอน

  5.2.1. บรรบายประกอบกับการมอบหมายให้ทดลองทำแบบฝึกหัด ในการใช้ข้อมูลทางสถิติในการคิดวิเคราะห์

5.3 วิธีการประเมินผล

  5.3.1.ประเมินจากประสิทธิผลของการคิดวิเคราะห์งานที่ได้รับมอบหมาย จากรณีศึกษาเชิงคุณภาพ

  5.3.2. ประเมินจากคำตอบข้อสอบเชิงวัดทัศนคติ ในการแสดงความคิดเห็น

แผนการสอนและการประเมินผล

1.

แผนการสอน

สัปดาห์ที่

หัวข้อการเรียนรู้

จำนวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน

ผู้สอน

1

สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชา, สร้างข้อตกลงเกี่ยวกับกฎกติกามารยาท ในการดำเนินการเรียนการสอน ,การประเมินผลการเรียน,

3

- บรรยาย

- อภิปรายกลุ่มย่อย

- Pre-Test

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

2

ทฤษฎี และบริบท มาตรฐานของความเป็นนานาชาติ/ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นนานาชาติ/ ความเป็นนานาชาติด้านต่างๆ ในยุคปัจจุบัน

3

บรรยายแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน วิเคราะห์ สภาพการณ์ ความเป็นนานาชาติ 

ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

3

ความหมาย ข้อดี ข้อเสีย บทบาท ผลกระทบและอิทธิพล ของโลกาภิวัฒน์ / สภาพการณ์ในกระแสโลกาภิวัฒน์

3

บรรยายศึกษา casestudy ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

4

สังคมมนุษย์กับวัฒนธรรมลักษณะและพฤติกรรมของสังคม นานาชาติ นานาชาติ ที่มีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ของมนุษย์

3

บรรยายศึกษา casestudyวิเคราะห์สถานการณ์ จำลอง มอบหมายงานสำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

อาจารย์ ดร.จอย

ทองกล่อมสี

5

วัฒนธรรมกับการสื่อสารการสื่อสารต่างวัฒนธรรมอิทธิพลของการสื่อสาร ที่มี่ต่อความเป็นนานาชาติ

3

บรรยาย ศึกษาเหตุการณ์ตัวอย่าง

สุ่มการนำเสนองานกลุ่มและงานคู่

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

6

จริยธรรมและปัญหาการสื่อสารในระดับนานาชาติอุปสรรค และประสิทธิภาพ ของการสื่อสาร ในระดับนานาชาติ

3

บรรยาย ศึกษาเหตุการณ์ตัวอย่าง

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

7

ลักษณะของวัฒนธรรมที่หลากหลาย/การจัดการกับความหลากหลายของวัฒนธรรม เงื่อนไขในทางวัฒนธรรมสำหรับการแข่งขันระดับโลก

3

บรรยาย/

กรณีศึกษา/

มอบหมายรายงานการค้นคว้า

อาจารย์ ดร.จอย

ทองกล่อมสี

8

การจัดการกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง/เงื่อนไขทางวัฒนธรรม/หมวดหมู่ของวัฒนธรรม

3

บรรยาย/

กรณีศึกษา/

มอบหมายรายงานการค้นคว้า

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

9

ลักษณะการสื่อสารในรูปแบบต่าง/ความสัมพันธ์ของการสื่อสาร กับวัฒนธรรม

3

บรรยาย/ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

10

การออกแบบการสื่อสารให้เหมาะกับวัฒนธรรม ในลักษณะต่างๆ ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้จริง

3

บรรยาย/ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน มอบหมายงานสำหรับการนำเสนอช่วงสุดท้ายของรายวิชา

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

11

บริบทของ วัฒนธรรมต่าง ๆของที่เป็นลักษณะประจำชาติ ของแต่ละประเทศ

3

บรรยาย/ศึกษา ลักษณะประจำชาติ ของประเทศต่าง/นำเสนอ ผลงานการศึกษาลักษณะประจำชาติ ของประเทศต่าง

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

12

ลักษณะประจำชาติ ของแต่ละประเทศ ที่มีอิทธิพลต่อ สถานการณ์ ทุกๆ ด้าน ของ โลก

3

บรรยาย/ศึกษา ลักษณะประจำชาติ ของประเทศต่าง/นำเสนอ ผลงานการศึกษาลักษณะประจำชาติ ของประเทศต่าง

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

13

แนวคิดว่าด้วยการเจรจาต่อรอง/ลักษณะและประเภทของการเจรจาต่อรอง/หลักการเบื้องต้นในการเจรจาต่อรอง

3

บรรยาย/กรณีศึกษา

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

14

เทคนิคการเจรจาต่อรองด้วยแนวทางผสมผสาน/ขั้นตอนต่างๆ ในการเจรจาต่อรอง/ความสำเร็จ และความล้มเหลวของการเจรจาต่อรอง

3

บรรยาย/ กรณีศึกษา

ทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

15

ลักษณะ และแนวทางการเจรจาต่อรอง ของแต่ละประเทศ ในแถบยุโรป และเอเชีย / วิเคราะห์ เปรียบเทียบ ลักษณะการเจรจา ต่อรอง จากเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้นักศึกษานำเสนอรายงานการค้นคว้า

3

บรรยาย/

นำเสนองานที่มอบหมาย

อาจารย์ ดร.จอย 

ทองกล่อมสี

จำนวน 15 สัปดาห์  รวม

45

2.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้

มาตรฐานผลการเรียนรู้

วิธีการประเมิน

สัปดาห์ที่ประเมิน

สัดส่วนการประเมินผล

ทักษะทางปัญญา

การมีส่วนร่วมอภิปรายในชั้นเรียน

ทุกสัปดาห์

10

การทดสอบย่อยหรือใบงาน

3/13

10

การนำเสนองานที่มอบหมายหน้าชั้นเรียน

14/15

10

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

รายงานการค้นคว้า ศึกษา งานที่มอบหมาย/ ผลการประสานงาน ผลการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่าย

14/15

20

ความรู้ที่ต้องได้รับ

การสอบกลางภาค

ตามประกาศมหาวิทยาลัย

20

ความรู้ที่ต้องได้รับ

การสอบปลายภาค

ตามประกาศมหาวิทยาลัย

30

รวมการประเมินการเรียนรู้

100

ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1.

ตำราและเอกสารหลัก

บรรจง  อมรชีวิน.วัฒนธรรมข้ามชาติ การบริหารและการเจรจาต่อรอง.ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2547

 จุฑาพรรธ์ (จามจุรี)  ผดุงชีวิต.วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ,2551

สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์.กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง.บริษัทพัฒนวิจัย, 2545

จิตรา  หิรัญอัศว์.การเจรจาต่อรองร่วม.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2520

เมตตา  วิวัฒนานุกูล.การสื่อสารต่างวัฒนธรรม.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548

รานงานของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยวัฒนธรรมและการพัฒนา.วัฒนธรรมอันหลากสีของ มนุษยชาติ

ลลินทิพย์ สมบูรณ์เรืองศรี.ทักษะการเจรจาต่อรอง.เอ็กเปอร์เน็ท,2554

เทียนชัย  วงศ์ชัยสุวรรณ.โลกาภิวัฒน์ 2000.บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, 2539

2.

เอกสารและข้อมูลสำคัญ

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยกำหนดให้การทำสนธิสัญญา

แนวทางปฏิบัติในการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ

พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต พ.ศ. 2527

3.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ

http://nitistou.wordpress.com/2007/10/

http://www.laslaws.com/



ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books