ภาษาไทย


ผู้สอน
นางสาว จุฑารัตน์ สุวรรณจันทร์
เข้าสู่ระบบเมื่อ 10 เดือน ที่แล้ว

ชื่อวิชา
ภาษาไทย

รหัสวิชา
70409

รหัสวิชาของสถานศึกษา
ท 16101

สถานศึกษา
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 (บ้านเอก)

คำอธิบายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ท ๑๖๑๐๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

รายวิชาพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

เวลา ๑๖๐ ชั่วโมง

    อ่านได้คล่องและอ่านได้เร็วขึ้น ความหมายของคำ การเปรียบเทียบและใช้แหล่งความรู้พัฒนาการอ่าน แยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น วิเคราะห์ความ ตีความ สรุปความ คำสำคัญในเรื่อง

ที่อ่าน และใช้แผนภาพโครงเรื่องหรือแผนภาพความคิดพัฒนาการอ่าน นำความรู้ความคิดจากการอ่านไปใช้แก้ปัญหา ตัดสินใจ คาดการณ์ และการอ่านเป็นเครื่องมือพัฒนาตน การตรวจความรู้ ค้นคว้าเพิ่มเติม อ่านในใจ และอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์ และอักขรวิธี และจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าทางความคิดและความงดงามทางภาษา อธิบายความหมายและคุณค่านำไปใช้อ้างอิง เลือกหนังสือตามจุดประสงค์อย่างกว้างขวาง มารยาทการอ่านและนิสัยรักการอ่าน เขียนเรียงความ ย่อความ การรายงาน ชี้แจงการปฏิบัติงาน เขียนจดหมายสื่อสารได้เหมาะกับโอกาสและจุดประสงค์ เขียนเรื่องราวจากจินตนาการหรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง รวมทั้งใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน มารยาทการเขียน และรักการเขียน ศึกษา ค้นคว้า ใช้ทักษะการเขียนจดบันทึก ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ เหตุการณ์ เพื่อนำมาพัฒนางานเขียน และการรายงาน และเขียนสื่อสารอย่างมีมารยาททางสังคม จับประเด็นสำคัญ แยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น สรุปความ วิเคราะห์ตามข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น จุดประสงค์ของเรื่อง และของผู้พูด ถ้อยคำ น้ำเสียงที่แสดงออก กิริยาท่าทาง รับสารจากการฟัง การดู โดยสังเกตเปรียบเทียบจากประสบการณ์ต่อชีวิตจริง สนทนาโต้ตอบ พูดแสดงความคิด พูดต่อหน้าชุมชน และพูดรายงาน โดยใช้ถ้อยคำเหมาะสมแก่เรื่องและจุดประสงค์ตามหลักการพูด มารยาทการฟัง การดู และการพูด สะกดคำในวงคำศัพท์ที่กว้าง และยากขึ้น อ่านและเขียนคำได้ถูกต้องคล่องแคล่ว การใช้คำ กลุ่มคำ ตามชนิดและหน้าที่ มาเรียบเรียงเป็นประโยค การใช้ประโยคสื่อสารได้ชัดเจน การใช้คำที่มีความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย การใช้ภาษาในการสนทนา เชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ชี้แจง ด้วยถ้อยคำสุภาพ และใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง การคิดไตร่ตรองก่อนพูดและเขียน ลักษณะของคำไทย คำภาษาถิ่น คำภาษาต่างประเทศ ที่ปรากฎในภาษาไทยซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น แต่ง บทร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนโดยแสดงความคิดสร้างสรรค์ เล่านิทานพื้นบ้าน และตำนานพื้นบ้านในท้องถิ่นอย่างเห็นคุณค่า การใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือการเรียน การแสวงหาความรู้และการอยู่ร่วมกันในสังคม และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาความรู้ระดับของภาษา ลักษณะของภาษาพูดภาษาเขียน ใช้ภาษาถูกต้องและเหมาะสม กับบุคคลและสถานการณ์ การใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในการพัฒนาความรู้ เห็นคุณค่า การใช้ตัวเลขไทย การใช้ภาษาอย่างถูกต้องมีคุณธรรม โดยการพูดการเขียนตามความเป็นจริง และเหมาะแก่สถานการณ์ การใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและสร้างความสามัคคีสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม การใช้ภาษาของกลุ่มบุคคลในชุมชน เลือกอ่านหนังสือได้หลากหลาย ทั้งนิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง บทละคร ตามจุดประสงค์การอ่าน ใช้หลักการพิจารณาหนังสือ พิจารณาให้เห็นคุณค่า และนำไปใช้ในชีวิตจริง

รหัสตัวชี้วัด ท ๑.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ท ๒.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖, ป.๖/๗, ป.๖/๘, ป.๖/๙ ท ๓.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ ท ๔.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔, ป.๖/๕, ป.๖/๖ ท ๕.๑ ป.๖/๑, ป.๖/๒, ป.๖/๓, ป.๖/๔

รวมทั้งหมด ๓๔ ตัวชี้วัด


ClassStart ให้บริการฟรีโดย บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
สนับสนุนโดย
ผู้ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่ง (2563-2566)
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (2561-2563)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (2557-2558)
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (2557)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2554-2558)
GotoKnow
ClassStart Books