รหัสวิชา ส๑๓๑๐๑ รายวิชา สังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เวลา ๔0 ชั่วโมง
ศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ ประวัติสาวก ชาดก ความสำคัญของพระไตรปิฎก
พระรัตนตรัยการสวดมนต์ไหว้พระ และแผ่เมตตาเพื่อเป็นพื้นฐานของสมาธิ ความสำคัญของศาสนาวัตถุ และ
มรรยาทชาวพุทธการปฏิบัติตนในศาสนพิธี การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ประพฤติปฏิบัติตนตามประเพณีและ
วัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อธิบายวันหยุดราชการที่สำคัญ บุคคลที่มีผลงานเป็น
ประโยชน์แก่ชุมชน บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในชุมชน การออกเสียง และเลือกตัวแทนการออกเสียง
การตัดสินใจของบุคคลแต่ละกลุ่มที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง สินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีวิต การใช้จ่าย
ที่จำเป็นและเหมาะสม ความหมายของผู้ผลิต ผู้บริโภค สินค้าและบริการที่ภาครัฐจัดหามาบริการประชาชน
ความหมายและความสำคัญของภาษี รวมถึงความสำคัญและผลกระทบของการแข่งขันทางการค้า ใช้แผนที่
ภาพถ่ายในการหาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในชุมชน เขียนแผนผังง่าย ๆ แสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญ
ในบริเวณโรงเรียนและชุมชน ความสัมพันธ์ของลักษณะกายภาพกับลักษณะทางสังคมในชุมชน
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน การพึ่งพาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ในการสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และการประกอบอาชีพ มลพิษและการก่อให้เกิดมลพิษโดยมนุษย์
ความแตกต่างของเมืองและชนบท การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในชุมชน
โดยใช้กระบวนการทางสังคมศาสตร์ การฝึกทางทักษะกระบวนการคิด การสืบค้น การอภิปราย
การแก้ปัญหาการเรียนรู้ กระบวนการกลุ่ม การจัดการ และการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะที่สำคัญทางสังคมศึกษา ได้ตระหนัก
เห็นคุณค่ามีศรัทธา รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย
ตัวชี้วัด
ส ๑.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕, ป. ๓/๖, ป. ๓/๗
ส ๑.๒ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓
ส ๒.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔
ส ๒.๒ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓
ส ๓.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓
ส ๓.๒ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓
ส ๕.๑ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓
ส ๕.๒ ป. ๓/๑, ป. ๓/๒, ป. ๓/๓, ป. ๓/๔, ป. ๓/๕
รวมทั้งหมด 31 ตัวชี้วัด